การปรับพื้น Self-Leveling ก่อนติดตั้งกระเบื้องลายไม้
การปรับพื้น ด้วยการเท Self-Leveling เป็นการปรับระดับพื้นให้เรียบเนียน เนื่องจากพื้นเดิมไม่ได้ระดับน้ำ พื้นมีความหยาบดิบ เป็นหลุมบ่อ พื้นอาจจะเคยปรับมาก่อนหรือไม่ไม่เคยก็ได้ แต่ถ้าพื้นไม่ได้ระดับมีความเอียง และต้องการยกระดับพื้นห้องขึ้น จำเป็นจะต้องทำการ Self-Leveling ให้พื้นห้องมีความสม่ำเสมอกัน ก่อนที่จะทำการปูพื้นกระเบื้องลายไม้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาพื้น ยวบ ยุบ เวลาเดิน
ขั้นตอนเตรียมพื้นและการเท Self-Leveling
- ทำความสะอาดพื้นผิวให้เรียบร้อย
- ขัดพื้นให้ปราศจากเศษปูนและฝุ่น คราบสี น้ำมัน ต่าง ๆ และ ทารองพื้นด้วยน้ำยาไพรเมอร์ (Primer1)
- เทปูน Self-Leveling ที่ผสมแล้ว ให้ทั่วพื้นห้อง ทำการเกลี่ยปรับให้เสมอกัน
- เมื่อทำการเกลี่ยปูนให้ทั่วแล้ว จึงทำการไล่ฟองอากาศโดยใช้ลูกกลิ้ง ไล่ฟองจนหมดให้ทั่วและทำการปรับระดับพื้นให้เป็นเนื้อเดียวกัน รอจนพื้นเซตตัวให้แห้งสนิท
ส่วนผสม
น้ำ + ปูน Self-Leveling (Mortar) หรือตามที่สะดวก
การปฏิบัติและข้อจำกัดของการเท Self-Leveling
- ปูน Self-Leveling เป็นปูนที่เซตตัวช้า จึงเหมาะแก่การปรับพื้นภายในอาคารเท่านั้น ไม่แนะนำหรือปรับภายนอก
- ควรหลีกเลี่ยงพื้นผิวที่มีส่วนประกอบของยิปซั่ม
- ควรใช้งานในอุณภูมิตั้งแต่ 6 – 38 องศาเซลเซียส ห้ามใช้งานอุณภูมิต่ำกว่า 4 องศา และมากกว่า 38 องศาเด็ดขาด
- ควรผสมปูน Self-Leveling กับน้ำสะอาดเท่านั้น หลีกเลี่ยงการใส่สารประกอบอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุ
- ในช่วง 2 – 4 วัน ขณะที่รอปูนแห้ง (ปูน Self-Leveling มีความแห้งช้ามาก) ระมัดระวังเรื่อง ฝุ่นหรือเศษของต่างๆ เกาะผิวหน้าปูน Self-Leveling
ข้อดี | ข้อเสีย
ของการปรับเท Self-Leveling
ข้อดี
ปรับพื้นผิวหน้าได้เรียบเนียน แก้ไขปัญหาพื้นเป็นหลุม เป็นบ่อ พื้นลาดเอียงไม่ได้ระดับน้ำ
ข้อเสีย
ปูน Self-Leveling แห้งตัวช้าอาจใช้เวลาสูงสุดถึง 6 วัน กว่าปูนจะเซตตัวแห้งสนิท มีขั้นตอนในการปรับค่อนข้างยุ่งยากกว่าการปรับสไลด์พื้นปกติ จึงจำเป็นต้องอาศัยช่างที่มีความชำนาญสูงในการปรับพื้น อีกทั้งปูน Self-Leveling ยังมีราคาตามท้องตลาดค่อนข้างสูง