จัดบ้านสไตล์ คมมาริ(KonMari) สอนอะไรกับเราบ้าง ?
เทคนิค จัดบ้านสไตล์ คมมาริ (Kon Mari)
สำหรับความวุ่นวายภายนอกบ้านแล้ว กลับมาบ้านก็อยากทิ้งตัวลงนอนเลย
แต่ต้องมานั่งหงุดหงิด รำคาญกับสิ่งของที่รก สกปรกภายในบ้านอีก ..
.
จากการที่ได้ดูซีรี่ย์เรื่อง Tydying Up with Marie Kondo ภาพยนตร์จาก Netflix
ทำให้ได้ข้อคิดอะไรหลายแง่มุม ที่จะทำให้การใช้ชีวิตในบ้าน การใช้ชีวิตในครอบครัว และการใช้ชีวิตกับคู่รัก เป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น
.
ก่อนอื่นเลย มาทำความรู้จักกับเจ้าของทริคการจัดบ้านสุดปัง “ คนโด มาริเอะ ” หญิงสาวชาวญี่ปุ่นที่หลงรักการจัดระเบียบตั้งแต่ 5 ขวบ “คนโด มาริเอะ” คือผู้แต่งหนังสือ The Life-Changing Magic of Tidying Up ซึ่งโด่งดังมาก จนนิตยสาร “ไทม์” ยกย่องให้เป็นหนึ่งในบุคคลที่ทรงอิทธิพลในปี 2015 รวมทั้งเธอยังรับสอนจัดบ้านให้กับคนทั่วโลกอีกด้วย !
.
เลิกซะ นิสัย “ พรุ่งนี้ค่อย…”
พรุ่งนี้ค่อยซัก พรุ่งนี้ค่อยล้าง พรุ่งนี้ค่อยถู พรุ่งนี้ค่อยๆๆๆ
จนกลายมาเป็นความรก ความสกปรก ที่ไม่รู้จะแก้ปัญหายังไง
.
เลิกซะ นิสัย “ ทิ้งแต่เก็บ ”
ชิ้นนั้นก็สวย ชิ้นนี้ก็ดี สุดท้ายทุกชิ้นจะยังคงกองรกอยู่ในบ้าน และสร้างความหงุดหงิดใจให้เราต่อไป
คุณ มาริเอะ แชร์ทริค ฮาวทูทิ้ง ง่ายๆ โดยหาสิ่งที่เรียกว่า “Spark Joy” ระหว่างที่เรากำลังจัดบ้าน หรือที่เรียกว่า “ประกายแห่งความสุข” โดยคุณมาริเอะแบ่งการจัดบ้านออกเป็น 5 บทเรียน ดังนี้
บทเรียนที่ 1 – เสื้อผ้า
.
ทริคแรกที่สำคัญคือการ “ระเบิดตู้เสื้อผ้า” นำเสื้อผ้าทั้งหมดของตัวเองออกมาวางกองรวมกัน แล้วเริ่มคัดเลือกว่าชิ้นไหนจะเก็บ และชิ้นไหนจะปล่อย โดยชิ้นที่ต้องการจะเก็บ เราจะมีความรู้สึกถึง “Spark Joy” ในเสื้อผ้าตัวนั้นๆ หมายความว่าเราชอบมัน และใส่มันบ่อยจริงๆ ส่วนตัวที่ต้องการจะปล่อย ให้เราขอบคุณเค้าที่ได้ใช้เวลาร่วมกันมา แค่นี้ก็ไม่เสียดายที่จะทิ้งเค้าแล้วค่ะ
.
ทริคที่สองคือการ “พับเสื้อผ้า” วิธีการของคุณมาริเอะในการจัดตู้เสื้อผ้าคือการแบ่งแยกหมวดหมู่ให้ชัดเจน และพับให้เรียบร้อย จัดมันให้อยู่ในสายตาที่เราสามารถมองเห็นอย่างชัดเจน เราจะได้หยิบใช้มันบ่อย ๆ และป้องกันการซื้อซ้ำ
บทเรียนที่ 2 – หนังสือ
.
หลักการจัดเรียงหนังสือให้ใช้หลักเดียวกันกับเสื้อผ้า เลือกเก็บเล่มที่เรารู้สึกถึง “Spark Joy” และขอบคุณสำหรับเล่มที่ต้องการส่งต่อให้ผู้อื่น
บทเรียนที่ 3 – เอกสาร
.
ให้จัดการแบ่งเอกสารออกเป็น 3 หมวดหมู่ เพื่อให้เราสามารถหาเอกสารได้ง่าย และไม่เกิดข้อผิดพลาด
เอกสารรอดำเนินการ เช่น ใบเรียกเก็บเงิน หรือจดหมาย เป็นต้น
เอกสารสำคัญ ที่จำเป็นต้องเก็บไว้ถาวร เช่น หนังสือประกัน หรือเอกสารสัญญา เป็นต้น
เอกสารจิปาถะ ที่เราหยิบขึ้นมาดูอยู่บ่อย ๆ เช่น สูตรอาหาร เป็นต้น
บทเรียนที่ 4 – โคโมโนะ
.
เป็นหมวดหมู่ที่รวมทุกอย่างไว้ด้วยกัน นอกจาก เสื้อผ้า หนังสือ เอกสาร หรือของมีค่าทางใจ
บทเรียนนี้เราต้องใช้ตัวช่วยอย่าง “กล่องจัดเก็บ” เพื่อให้เป็นระเบียบ และควรเก็บของที่มีขนาดเท่ากันรวมไว้ในที่เดียวกัน
บทเรียนที่ 5 – ของมีค่าต่อใจ
.
บทเรียนนี้เป็นการสร้างความสุข และความทรงจำระหว่างครอบครัว และคู่รักได้ง่ายๆ เพราะระหว่างที่เราจัดของที่มีค่าต่อใจ เราจะเจอความทรงจำมากมายในรูปแบบของสิ่งของ ที่เราอาจหลงลืมไปแล้ว ให้เรานำรูปภาพบางภาพมาใส่กรอบจัดเรียงไว้ในบ้าน เพิ่มความน่ารักให้กับบ้านได้อีกแบบ ♥️