พื้นกระเบื้อง SPC vs พื้นกระเบื้องยางแบบไหนสไตล์เรา ?
พื้นกระเบื้อง SPC คือ กระเบื้องที่มีการผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่เรียกว่า SPC ย่อมาจาก Stone Plastic Composite เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ของไม้ลามิเนต
แม้พื้นไม้ลามิเนตนั้นจะมีความสวยงามเหมือนไม้จริงแต่ทว่าก็ยังมีปัญหาอยู่เยอะพอสมควร เช่น ความชื้นของน้ำทำให้พื้นบวม ปัญหาปลวกกินไม้ เนื่องจากพื้นไม้ลามิเนต ทำจากการนำเยื้อไม้มาบดอัดให้ขึ้นรูปเป็นแผ่น แล้วทำการติดฟิล์มลายไม้ ให้สวยงาม แม้ผิวหน้าจะมีควาแข็งแรงแต่ก็แบ่งตามเกรด AC Rating(1) ก็ตาม

AC RATING
ไม้ลามิเนตก็ถือว่ายังมีปัญหามากพอสมควร ซึ่งพื้นกระเบื้อง SPC พัฒนามาเพื่อแก้ปัญหาของ ไม้ลามิเนตโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นด้านกันน้ำได้ 100% ทนจากสารเคมีได้, ผิวหน้าแข็งแกร่งทนทานรองรับน้ำหนักได้ดี และทนต่อรอยขีดข่วนบางรุ่นเทียบเท่า AC 5(2)
ยกตัวอย่าง เช่น ที่แอดมินรู้จัก คือ กระเบื้อง SPC แบรนด์ Lamett จากประเทศ เบลเยี่ยม ที่มีชั้นกันสึก (Wear Layer) หนาถึง 0.55 mm. ทนรอยขีดข่วนได้มากสุดถึง 8,000 รอบ อีกทั้งโครงสร้างของ Lamett ยังมีความแข็งแรง ผิวหน้าทนรอยขีดข่วนได้อย่างยอดเยี่ยม หมดห่วงเรื่องสารเคมีจาก พลาสติกที่เป็น อันตรายต่อคนและสัตว์
(1) AC rating: ระดับความแข็งแกร่งของผิวหน้าไม้ลามิเนต
(2) AC 5: ระดับสูงสุดของความแข็งแกร่งของผิวหน้า ประมาณ 6,000 ครั้ง
กระเบื้อง SPC ระบบคลิกล็อค(Tight Lock System) ของแบรนด์ Lamett ยังมีให้เลือกหลากหลายแบบ มีทั้ง แบบไม้กระดาน(Rigid SPC), ลายก้างปลา(Herringbone Series), ลายปูนเปลือย(Loft Series) ซึ่งแต่ละแบบมีขนาดและความสวยงามแตกต่างกัน แล้วแต่ความต้องการของแต่ละบุคคล ซึ่งแอดมินก็ได้หยิบเอารูปแต่ละแบบมาฝากกันด้วย ไปดูกันเลยยยย
แบบไม้กระดาน (Rigid SPC)
พื้นไม้กระดาน Rigid SPC สำหรับปูพื้นมีความสวยงามเหมือนไม้จริง ผิวหน้ามีหลายลายให้เลือกตามสไตล์ของเรา และ Surface 2 แบบด้วยกัน คือ
1. ผิวเรียบ (Natural Embossed)
2. ผิวนูนเล็กน้อย (U Embossed)
แบบลายก้างปลา (Herringbone Series)
พื้นแบบลายก้างปลา Herringbone Series พื้น SPC แบบคลิก (Herringbone Lock) สลับฟันปลา เป็นรูปแบบคลิกเฉพาะที่มีคลิกทางด้าน ซ้าย และ ขวา ซึ่งการติดตั้งก็ไม่ได้ยุ่งยากจนเกินไป พื้นดูเหมือนไม้จริงและมีความสวยงาม มี Surface แบบผิวนูนตามลายไม้(U Embossed)
แบบลายปูนเปลือย (Loft Series)
พื้นกระเบื้อง SPC คลิก (Tight Lock System) ลายปูนเปลือย รุ่น Loft Series ออกแนวปูนดิบ เหมาะกับบ้านพักอาศัยสไตล์ลอฟท์, โมเดิร์น, วินเทจ หรือตามสไตล์ที่จะปรับใช้ตามความชอบได้หลากหลาย พื้นลายปูนดูทันสมัย โมเดิร์นเหมาะแก่การปูห้องครัว, ห้องน้ำ(แห้ง) อื่น ๆ มีหลายลายให้เลือก ผิวหน้า Surface : ลายหิน (Stone Embossed)
โครงสร้างพื้นฐานของกระเบื้อง SPC (Structure SPC Flooring)
- UV Coating: ชั้นเคลือบกันแสงรังสี UV จากแสงแดดป้องกันการซีดจางของ Printing film
- Wear Layer: ชั้นกันสึก กันรอยขีดข่วน เพิ่มความแข็งแกร่งทนทานของชั้นผิวหน้า
- Decorative Printing Film: ฟิล์มพิมพ์ลายเป็นชั้นที่แสดงให้เห็นลายต่าง ๆ ที่ออกแบบมาไม่ว่าจะเป็นลายไม้, ลายหิน หรือ ลายปูนเปลือยเป็นต้น
- Middle Layer: ชั้นกลางของโครงสร้างพื้น SPC ซึ่งชั้นนี้จะเป็นส่วนผสมระหว่างสารประกอบที่สำคัญ อย่างเช่น สารที่มีส่วนผสมของหินปูน
- Backing: แผ่นรองด้านล่างของโครงสร้าง พื้นกระเบื้อง SPC มีหลายแบบด้วยกัน เช่น EVA, IXPE เป็นต้น
คุณสมบัติพื้นฐานของพื้นกระเบื้อง SPC
- ง่ายต่อการติดตั้ง (Easy Installation Click)
- กันน้ำ (Water Proof 100%)
- ไม่ลามไฟ (Fire Resistance)
- กันรอยขีดข่วน (Scratch Resistance)
- รับน้ำหนัก ลดแรงกระแทก (Impact Resistance)
- ทนต่อสารเคมี (Resistance to Chemical)
- อื่น ๆ ตามแต่คุณสมบัติของ โปรดัก
กระเบื้องยาง (Luxury Vinyl Tile)
กระเบื้องยาง คือ กระเบื้องที่มีส่วนผสมของ PVC มีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งกระเบื้องยาง นั้นก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเช่นกันในปัจจุบัน
เพราะก่อนจะพัฒนาเป็น พื้นกระเบื้อง SPC นั้น กระเบื้องยางก็ได้รับความนิยมมาก่อน ปัจจุบันก็ยังใช้กันอยู่แต่เนื่องจากความยุ่งยากในการติดตั้ง ต้องหาช่างที่มีความชำนาญงานเข้าติดตั้งพื้น เพราะวัสดุชนิดนี้ต้องใช้กาวสำหรับปูกระเบื้องโดยเฉพาะ มีปรับพื้น Self-Leveling ให้เรียบสนิทเสียก่อน ห้ามมีหลุม บ่อ หรือโนนโดยเด็ดขาด เพราะเวลาติดตั้งเสร็จจะเห็น จะทำให้เกิดพื้นผิวตามรอยดู ไม่สวยงาม
อย่างไรก็ตาม กระเบื้องยางก็ยังมี คุณสมบัติ กันน้ำ กันปลวกได้ 100% เช่นเดียวกับ พื้น SPC หากเพียงแต่ว่า ขั้นตอนการติดตั้งต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน เช่นพื้นที่หน้างานต้องแห้งสนิท ห้ามมีความชื้นเพราะหากมีความชื้นกาวสำหรับการติดตั้ง จะทำให้ประสิทธิภาพในการยึดเกาะลดลงและทำให้พื้น กระเบื้องยาง หลุดได้ พื้นห้ามมีเศษปูนหรือบ่อ โนนหลังเต่า ถ้าเกิดมีต้องทำการ เจียรพื้นให้เรียบสนิท ปรับพื้นให้เรียบร้อย ช่างต้องมีความชำนาญในการใช้กาวติดตั้ง เช่นการปาดกาวต้องไม่หนาหรือบางเกินไป และต้องไม่รอกาวหมาดจนเกินไป เพราะจะทำให้พื้นไม่ยึดเกาะกับกาว
อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า พื้นกระเบื้องยาง นั้นใช้กาวในการติดตั้ง ต้องระวังเรื่องกลิ่น ควรใช้หน้ากากป้องกันตัวเองจากกลิ่นกาวที่ไม่เพิ่งประสงค์ เพราะบางยี่ห้อมีกลิ่นฉุน แต่ปัจจุบันหลายยี่ห้อก็ปรับเปลี่ยนให้กลิ่นค่อนข้างเบาบางมากแล้ว แต่อย่างไรป้องกันตัวเองไว้ดีที่สุด
สำหรับความแข็งแกร่งของผิวหน้า กระเบื้องยาง นั้นในปัจจุบันที่เห็นตามท้องตลาดทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 0.3 มิลลิเมตร.(Wear Layer: 0.3 mm.) ก็ถือได้ว่าค่อนข้างใช้ได้เลยทีเดียว สำหรับผิวหน้ามีความสวยงามเหมือนไม้จริงเหมือนกัน เพียงแต่ว่า วัสดุของกระเบื้องยาง นั้นเป็น PVC ส่วนใหญ่ มีความยืดหยุ่น โค้งงอได้ และเมื่อใช้งานไปนาน ๆ วัสดุอาจจะหดขยายตัวได้ นี่อาจจะเป็นข้อด้อยอีก ข้อนึงของ กระเบื้องยาง
โครงสร้างของ กระเบื้องยาง (Structure Luxury Vinyl Tile)
- UV Surface Treatment: เคลือบสาร UV Coating ที่ผิวหน้าป้องกันการซีดจางพร้อมเทคโนโลยี นาโนซีลเวอร์ Nano Silver ป้องกันแบตทีเรีย
- Wear Layer: ชั้นกันสึกป้องกันผิวหน้า ปัจจุบันที่เห็นตามท้องตลาด ของกระเบื้องยางประมาณ 0.3 มิลลิเมตร
- Printing Film Layer: ชั้นฟิล์ม พิมพ์ลายของกระเบื้องยาง ส่วนใหญ่ตามท้องตลาดจะเป็นลายไม้, ลายหิน
- Middle Layer: ชั้นกลางของกระเบื้องยาง ที่มีส่วนผสมของ PVC กับสารประกอบอื่น ๆ
- Backing Layer: ชั้นล่างสุดของกระเบื้องยางส่วนมากจะเป็น PVC
คุณสมบัติของ พื้นกระเบื้องยาง
- กันน้ำได้ 100% (Water Proof)
- กันลามไฟ (Fire Resistance)
- เทคโนโลยี นาโนซิลเวอร์ป้องกัน แบตทีเรีย (Nano Silver)
- เคลือบสาร UV Coating ป้องกันการซีดจาง